Monthly Archives: มกราคม 2023

อยู่อย่างปลอดภัย  ไม่ต้องกลัวสายชาร์จดูดข้อมูล

เมื่อต้นเดือน มกราคม 2566 มีข่าวว่า มีผู้เสียหายรายหนึ่ง พบว่าเงินในบัญชีสูญหายจากการโจรกรรมข้อมูลโดยผู้เสียหายเองเข้าใจผิดคิดว่าเกิดขึ้นจากสายชาร์จ กรณีนี้ แท้จริงแล้วเกิดจากการติดตั้งแอปพลิเคชั่นบางแอปฯ ที่เป็นมัลแวร์ดูดข้อมูลโดยมิจฉาชีพจะสามารถควบคุมโทรศัพท์ผู้เสียหายจากรีโมทในระยะไกลเพื่อโอนเงินออกจากบัญชีได้

ส่วนสายชาร์จที่ดูดข้อมูลภายในโทรศัพท์มือถือนั้นก็พบว่ามีอยู่จริง แต่ยังไม่แพร่หลายในไทย แต่สายชาร์จนี้จะไม่สามารถดูดข้อมูลเราได้เลย ถ้าเราทราบวิธีป้องกันตัวและปฏิบัติตามคำเตือนด่านล่างนี้

  • อย่าติดตั้งแอปพลิเคชั่นอันตรายบางแอปฯ เช่น แอปฯ หาคู่ แอปฯ ดูภาพลามกอนาจาร แอปฯ ดูไลฟ์สด หากจะติดตั้งแอปพลิเคชั่นควรติดตั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น App Store, Google Play, App Gallery เท่านั้น
  • เลือกซื้อสายชาร์จแท้จากศูนย์ หรือเลือกซื้อยี่ห้อที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ไว้ใจได้
  • ควรใช้สายชาร์จหรือเพาเวอร์แบงค์ของตัวเอง และไม่ควรขอชาร์จจากคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  • ก่อนจะใช้ Wi-Fi สาธารณะ ให้สังเกตให้ดีก่อน

ออนไลน์ปลอดภัย ห่างไกล Hate Speech

Hate Speech คืออะไร

หากเราจะแปลคำว่า Hate Speech โดยตรง จะหมายถึงคำพูดที่สร้างความเกลียดชัง แต่รูปแบบของ Hate Speech  มิใช่เพียงแค่คำพูดเท่านั้น ยังรวมถึงการสื่อสารทุกรูปแบบ ทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพวาด วีดีโอ หรือสื่อต่าง ๆ ที่เป็นการยุยงให้เกิดความเกลียดชัง เกิดอคติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคล หากเป็นการสร้างความเกลียดชังผ่านทางออนไลน์ ยิ่งจะแพร่กระจายไปได้ไกล รวดเร็วและสร้างผลกระทบกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมาก

หากเราต้องการสร้างพื้นที่ออนไลน์ให้ปลอดภัยสำหรับทุกคน เราต้องช่วยกันหยุดยั้ง Hate speech ทางออนไลน์ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  1. เริ่มต้นที่ตัวเราเอง โดยการไม่สนับสนุน ไม่ร่วมออกความคิดเห็น ไม่เผยแพร่เนื้อหาที่เป็น Hate Speech
  2. คอยดูแลตักเตือน คนรอบข้าง

การระรานทางไซเบอร์ (Cyber Bullying)

การโพสต์ข้อความ ภาพ หรือคลิปวิดีโอเพื่อด่าทอ ระบายอารมณ์ ประจานผู้อื่นเพื่อสร้างความอับอาย เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย ยิ่งมีการส่งต่อ การตอบโต้กันไปมาโดยมีคนอื่น ๆ มาร่วมผสมโรงด้วยความสนุกสะใจผสมกับแรงเชียร์จากชาวโซเชียลที่ไม่เคยรู้จักคุ้นเคยกันมาก่อน ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำซ้ำเติมเหยื่อCyber Bullying มีเจตนาที่มุ่งร้ายให้อับอาย เจ็บใจ และเสียใจ เป็นการกระทำซ้ำ ๆ ไม่ใช่ครั้งเดียวแล้วเลิก

รูปแบบ

  • ทำให้อับอาย
  • แฉด้วยคลิป
  • แอบอ้างตัวตน
  • เปิดเผยความลับ
  • หลอกให้หลงเชื่อ, หลอกให้โอนเงินให้
  • สร้างกลุ่มโจมตี

ผลกระทบ

  • รู้สึกอับอาย
  • เครียด, วิตกกังวล
  • เก็บตัว
  • อยากทำร้ายตัวเอง, ฆ่าตัวตาย

การรับมือ

  • STOP – หยุดโต้ตอบ
  • BLOCK – ปิดกั้นบุคคลไม่พึงประสงค์

ถูกลวนลาม คุกคาม ทางเพศ แชทพูดคุยเรื่องทางเพศ ส่งรูปทางเพศ  สามารถแจ้งความได้ เพราะเข้าข่ายอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  

การพูดคุยรับส่งสื่อทางเพศที่ไม่เหมาะสม (Sexting)

การลวนลามทางเพศ เป็นการกระทำที่ล่วงเกินได้ทั้งทางกายและวาจา การสัมผัส การมอง การพูดจาแทะโลม การวิพากษ์วิจารณ์สรีระ แม้แต่การหยอกล้อด้วยคำพูดก็เป็นการคุกคามทางเพศได้ถ้าทำให้ผู้ถูกกระทำไม่สบายใจ เมื่อเป็นการลวนลามทางออนไลน์ย่อมกระทำได้ง่ายขึ้น แพร่กระจายได้รวดเร็วกว่า และทำซ้ำต่อเนื่องได้ไม่สิ้นสุด จึงให้ผลที่รุนแรงกว่าหลายเท่า Sexting คือพฤติกรรมการส่งรูปเปลือยหรือรูปโป๊กึ่งเปลือยพร้อมข้อความหรือเสียงที่มีความล่อแหลมทางเพศให้กับผู้อื่น พูดถึงอวัยวะเพศ เสนอหรือแลกเปลี่ยนภาพโป๊เปลือยของกันและกัน การขอทำกิจกรรมทางเพศ Sexting จึงเป็นการคุกคามลวนลามทางเพศออนไลน์

รูปแบบ

  • ส่งรูปทางเพศให้
  • ชวนแลกเปลี่ยนภาพโป๊เปลือย
  • ชวนคุยเรื่องทางแพศ
  • ชวนทำกิจกรรม

การป้องกัน

  • ไม่รับคนแปลกหน้าเป็นเพื่อน
  • ไม่คลิ๊ก Link ที่ไม่รู้จัก
  • ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

 การแก้ไข

  • ปิดกั้นบุคคลดังกล่าว
  • แจ้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง
  • รวมรวมหลักฐาน แจ้งตำรวจ หรือแจ้งความออนไลน์ทางเว็บไซต์https://www.thaipoliceonline.com
Page 1 of 2
1 2