Monthly Archives: กุมภาพันธ์ 2023

Cyber Sexual Harassment คือ การใช้ภาษาลวนลามทางเพศผ่านสื่อ โซเชียลมีเดีย
พฤติกรรมแบบใดเข้าข่าย Cyber Sexual Harassment?
- การเหยียดเพศ – การแสดงความคิดเห็นในเชิงดูถูกเหยียดหยามรสนิยมทางเพศ หรือเพศสภาพของผู้อื่น เห็นว่าเป็นเรื่องตลก และนำมาล้อเลียนให้อับอาย
- การลวนลามทางเพศ – การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศ การพูดถึงอวัยวะเพศ (ชาย/หญิง) เสนอหรือขอทำกิจกรรมทางเพศกับบุคคลดังกล่าว โดยไม่สนใจเรื่องเพศ หรืออายุของผู้ถูกกระทำ โดยที่ไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว เช่น ขอสักน้ำ สองน้ำ, เห็นแล้ว…ขึ้นเลย, จะตั้งใจเรียน, เป็นต้น
- การข่มขู่ทางเพศ – การข่มขู่ผู้ถูกกระทำ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเพศ เช่นการเกาะติดชีวิตออนไลน์ของผู้อื่น (Cyber stalking) หรือ เมื่อฝ่ายหญิงเลิกกับฝ่ายชาย
ลูกเราน่ารักก็อยากแชร์ความน่ารักน่าเอ็นดูให้ใครได้เห็น แต่รู้หรือไม่ว่าอาจมีผลกระทบที่ตามมากับเด็ก แล้วแบบนี้จะผิดกฎหมายข้อไหนบ้าง?
การกระทำเช่นนี้ถือเป็น การละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว และ และเป็นการเชื้อเชิญให้ผู้ไม่ประสงค์ดี เข้าถึงตัวเด็กได้เป็นอันตรายต่อเด็กอย่างมาก นอกจากนี้อาจสร้างความอึดอัดให้กับเด็ก ความคาดหวังของคนที่พบเห็นว่าเด็กต้องเหมือนในสื่อโซเชียลที่เห็น ถ้าเด็กเกิดเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
รูปที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรโพสต์ ไม่ควรแชร์
- ภาพถ่ายโรงเรียนของเด็ก หรือเช็คอิน ระบุตำแหน่งพื้นที่สาธารณะ อาจกลายเป็นภัยที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีทำร้ายเด็กได้
- ภาพถ่ายเด็กตอนอาบน้ำ
- ภาพถ่ายที่เด็กไม่อยากให้แชร์
- ภาพถ่ายที่ดูแล้วทำให้รู้สึกว่าเด็กๆ ไม่ปลอดภัย เช่น ภาพเด็กนั่งตักพ่อแม่ขณะขับรถ อาจเป็นความประมาทที่ก่อให้เกิดอันตรายได้
กฎหมายว่าด้วยเรื่อง สิทธิเด็กกับภาพถ่าย
สิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองควรรู้ก่อนจะถ่ายรูปเด็ก ๆ ลงโซเชียล มีดังนี้
- อนุสัญญาว่าด้วย สิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ
เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นส่วนตัว กฎหมายต้องให้ความคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิดชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่น เด็กมีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์ทุกรูปแบบ แม้จะไม่มีกล่าวไว้อย่างเจาะจงในอนุสัญญาฯ …