Category Archives: Interesting law

“การคุกคาม / ลวนลามทางเพศบนโลกออนไลน์” มีความผิดตามกฎหมาย

Cyber Sexual Harassment คือ การใช้ภาษาลวนลามทางเพศผ่านสื่อ โซเชียลมีเดีย พฤติกรรมแบบใดเข้าข่าย Cyber Sexual Harassment? การเหยียดเพศ – การแสดงความคิดเห็นในเชิงดูถูกเหยียดหยามรสนิยมทางเพศ หรือเพศสภาพของผู้อื่น เห็นว่าเป็นเรื่องตลก และนำมาล้อเลียนให้อับอาย การลวนลามทางเพศ – การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศ การพูดถึงอวัยวะเพศ (ชาย/หญิง) เสนอหรือขอทำกิจกรรมทางเพศกับบุคคลดังกล่าว โดยไม่สนใจเรื่องเพศ หรืออายุของผู้ถูกกระทำ โดยที่ไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว เช่น ขอสักน้ำ สองน้ำ, เห็นแล้ว…ขึ้นเลย, จะตั้งใจเรียน, เป็นต้น การข่มขู่ทางเพศ – การข่มขู่ผู้ถูกกระทำ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเพศ เช่นการเกาะติดชีวิตออนไลน์ของผู้อื่น (Cyber stalking) หรือ เมื่อฝ่ายหญิงเลิกกับฝ่ายชาย แล้วฝ่ายชายนำภาพโป๊ที่เคยถ่ายตอนเป็นแฟนกันมาข่มขู่ หรือแก้แค้นฝ่ายหญิง โดยไม่สนใจว่าอีกฝ่ายจะได้รับความเสื่อมเสียหรืออับอาย ตัวอย่างพฤติกรรมที่เข้าข่าย Cyber Sexual Harassment การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคนอื่นไปในแนวลามก การกระจายข่าวลือเรื่องการร่วมเพศ หรือนินทาคนอื่นด้วยข้อความบนสื่อออนไลน์ การโพสต์แสดงความคิดเห็นทางเพศภาพหรือวิดีโอลามกบนสื่อออนไลน์ ส่งข้อความและภาพลามกผ่านข้อความ กดดันให้คนอื่นมีส่วนร่วมในการส่งข้อความลามก ส่งต่อข้อความและภาพลามกผ่านข้อความหรืออีเมล แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นบนสื่อออนไลน์…

ดาบสองคมและ ผลกระทบต่อเด็กเมื่อ พ่อ แม่ชอบอวดรูปบนโลกโซเชียล

ลูกเราน่ารักก็อยากแชร์ความน่ารักน่าเอ็นดูให้ใครได้เห็น แต่รู้หรือไม่ว่าอาจมีผลกระทบที่ตามมากับเด็ก แล้วแบบนี้จะผิดกฎหมายข้อไหนบ้าง? การกระทำเช่นนี้ถือเป็น การละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว และ และเป็นการเชื้อเชิญให้ผู้ไม่ประสงค์ดี เข้าถึงตัวเด็กได้เป็นอันตรายต่อเด็กอย่างมาก นอกจากนี้อาจสร้างความอึดอัดให้กับเด็ก ความคาดหวังของคนที่พบเห็นว่าเด็กต้องเหมือนในสื่อโซเชียลที่เห็น ถ้าเด็กเกิดเป็นที่รู้จักในวงกว้าง รูปที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรโพสต์ ไม่ควรแชร์ ภาพถ่ายโรงเรียนของเด็ก หรือเช็คอิน ระบุตำแหน่งพื้นที่สาธารณะ อาจกลายเป็นภัยที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีทำร้ายเด็กได้ ภาพถ่ายเด็กตอนอาบน้ำ ภาพถ่ายที่เด็กไม่อยากให้แชร์ ภาพถ่ายที่ดูแล้วทำให้รู้สึกว่าเด็กๆ ไม่ปลอดภัย เช่น ภาพเด็กนั่งตักพ่อแม่ขณะขับรถ อาจเป็นความประมาทที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ กฎหมายว่าด้วยเรื่อง สิทธิเด็กกับภาพถ่าย สิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองควรรู้ก่อนจะถ่ายรูปเด็ก ๆ ลงโซเชียล มีดังนี้ อนุสัญญาว่าด้วย สิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นส่วนตัว กฎหมายต้องให้ความคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิดชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่น เด็กมีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์ทุกรูปแบบ แม้จะไม่มีกล่าวไว้อย่างเจาะจงในอนุสัญญาฯ นี้ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็กหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มาตรา…

การระรานทางไซเบอร์ (Cyber Bullying)

การโพสต์ข้อความ ภาพ หรือคลิปวิดีโอเพื่อด่าทอ ระบายอารมณ์ ประจานผู้อื่นเพื่อสร้างความอับอาย เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย ยิ่งมีการส่งต่อ การตอบโต้กันไปมาโดยมีคนอื่น ๆ มาร่วมผสมโรงด้วยความสนุกสะใจผสมกับแรงเชียร์จากชาวโซเชียลที่ไม่เคยรู้จักคุ้นเคยกันมาก่อน ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำซ้ำเติมเหยื่อCyber Bullying มีเจตนาที่มุ่งร้ายให้อับอาย เจ็บใจ และเสียใจ เป็นการกระทำซ้ำ ๆ ไม่ใช่ครั้งเดียวแล้วเลิก รูปแบบ ทำให้อับอาย แฉด้วยคลิป แอบอ้างตัวตน เปิดเผยความลับ หลอกให้หลงเชื่อ, หลอกให้โอนเงินให้ สร้างกลุ่มโจมตี ผลกระทบ รู้สึกอับอาย เครียด, วิตกกังวล เก็บตัว อยากทำร้ายตัวเอง, ฆ่าตัวตาย การรับมือ STOP – หยุดโต้ตอบ BLOCK – ปิดกั้นบุคคลไม่พึงประสงค์ TELL – ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น REMOVE – ลบทิ้ง STRONG – ทำใจให้เข้มเข็ง ความผิดทางกฎหมาย ถึงแม้ว่าการระรานทางไซเบอร์นั้นจะไม่ได้เป็นการประทุษร้ายต่อร่างกายโดยตรง แต่สามารถอิงความผิดตามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย …

ถูกลวนลาม คุกคาม ทางเพศ แชทพูดคุยเรื่องทางเพศ ส่งรูปทางเพศ  สามารถแจ้งความได้ เพราะเข้าข่ายอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  

การพูดคุยรับส่งสื่อทางเพศที่ไม่เหมาะสม (Sexting) การลวนลามทางเพศ เป็นการกระทำที่ล่วงเกินได้ทั้งทางกายและวาจา การสัมผัส การมอง การพูดจาแทะโลม การวิพากษ์วิจารณ์สรีระ แม้แต่การหยอกล้อด้วยคำพูดก็เป็นการคุกคามทางเพศได้ถ้าทำให้ผู้ถูกกระทำไม่สบายใจ เมื่อเป็นการลวนลามทางออนไลน์ย่อมกระทำได้ง่ายขึ้น แพร่กระจายได้รวดเร็วกว่า และทำซ้ำต่อเนื่องได้ไม่สิ้นสุด จึงให้ผลที่รุนแรงกว่าหลายเท่า Sexting คือพฤติกรรมการส่งรูปเปลือยหรือรูปโป๊กึ่งเปลือยพร้อมข้อความหรือเสียงที่มีความล่อแหลมทางเพศให้กับผู้อื่น พูดถึงอวัยวะเพศ เสนอหรือแลกเปลี่ยนภาพโป๊เปลือยของกันและกัน การขอทำกิจกรรมทางเพศ Sexting จึงเป็นการคุกคามลวนลามทางเพศออนไลน์ รูปแบบ ส่งรูปทางเพศให้ ชวนแลกเปลี่ยนภาพโป๊เปลือย ชวนคุยเรื่องทางแพศ ชวนทำกิจกรรม การป้องกัน ไม่รับคนแปลกหน้าเป็นเพื่อน ไม่คลิ๊ก Link ที่ไม่รู้จัก ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว  การแก้ไข ปิดกั้นบุคคลดังกล่าว แจ้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมรวมหลักฐาน แจ้งตำรวจ หรือแจ้งความออนไลน์ทางเว็บไซต์https://www.thaipoliceonline.com ความผิดทางกฎหมาย การนำเข้า หรือส่งต่อข้อมูลที่มีเนื้อหาลามกอนาจารเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ถือเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (4) ส่วนคนที่แชร์ต่อ จะมีความผิดตามมาตรา 14 (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)…

Page 1 of 4
1 2 3 4