สมัยนี้ เด็กกับมือถือแทบจะแยกออกจากกันไม่ออก เมื่อเด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอ การเล่น โซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะ กับการเล่นเกม ส่งผลให้มิจฉาชีพ แฝงตัวมากับคนเล่นเกม อย่างที่เราทราบ ๆ กัน การเล่นเกม ยิ่งเล่น ยิ่งติด ยิ่งอยากเอาชนะ อยากผ่านด่านให้เร็ว ๆ ทำให้เสียเงินในการซื้อไอเทมเกม เพื่อมาตอบสนองในส่วนนี้ เป็นช่องทางที่มิจฉาชีพจะติดตามเด็กทางสื่อ โซเชียลมีเดีย รู้ว่าเด็กชอบ หรืออยากได้อะไรก็จะเข้ามาตีสนิท เป็นการนำไปสู่การถูกล่อลวงทางเพศ (Cyber Grooming) ติดต่อพูดคุยสร้างสัมพันธ์ให้เกิดความไว้วางใจเพื่อเป้าหมายการละเมิดทางเพศ เด็กทำการถ่ายภาพ คลิปวิดีโอ ที่ลามก อนาจาร เพื่อ “แลกไอเทมเกม” คำว่า Grooming หมายถึง “การกระทำของผู้ใหญ่ที่ค่อย ๆ สร้างสานความสัมพันธ์หรือความรู้สึกดี ๆ เพื่อทำให้เด็ก ๆ เชื่อใจและไว้ใจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลอกลวง ล่วงละเมิดทางเพศ แสวงหาประโยชน์ทางเพศ หรือการค้ามนุษย์” ส่วนใหญ่คนที่มาล่อลวงหรือที่เรียกว่า Groomer จะใช้ช่องทาง โซเชียลมีเดีย SMS เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น…
Category Archives: Safe online
การหลอกให้หลงเชื่อเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจ ที่อ้างว่ามีผลกำไรที่ดีมาก โดยเสนอผลตอบแทนที่สูงลิ่วในเวลาอันสั้นเป็นการจูงใจ คำว่า “ลงทุน” “ผลตอบแทนสูง” “ใช้เวลาไม่นาน” ยิ่งล่อหลอกให้คนมาร่วมลงทุนเยอะขึ้น เพราะหวังที่จะรวยได้แบบรวดเร็ว รูปแบบการลงทุนแบบแชร์ลูกโซ่ การหลอกลวงว่าจะนำเงินที่มีไปลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ผลตอบแทนดีเกินจริงในเวลาอันรวดเร็ว แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าไปลงทุนแบบไหน เพราะไม่ได้เอาเงินไปลงทุนจริง เน้นหาสมาชิก เครือข่ายร่วมลงทุน จุดสังเกต รู้ไว้ไม่โดนหลอก ใช้การโฆษณาด้วยประโยคที่ว่า ‘ลงทุนง่าย ไม่ต้องใช้ทุนเยอะ ได้ดอกเบี้ยเกินร้อย เพิ่มเพื่อนในไลน์’ ต้องเฉลียวใจไว้ก่อน ยิ่งได้ผลตอบแทนเยอะๆ ภายในหนึ่ง หนึ่งเดือน ช่วงแรก ๆ ก็จะได้เงินปันผลตามที่กล่าวอ้าง ค่อนข้างเร็ว แต่หลังๆ ก็จะเริ่มได้ช้าลง จนถึงไม่ได้เลย การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง ควรศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วน ตัวแทนหรือคนที่มาชวนมักจะ โชว์ความร่ำรวย หรือสิ่งที่ได้จากการลงทุน โชว์เงินเป็นฟ่อน ๆ หรือรถหรูป้ายแดง แชร์ลูกโซ่ในลักษณะนี้มาในรูปแบบการขายตรง เน้นการหาสมาชิกเข้ามาอยู่ในทีม และเก็บเงินค่าสมาชิกแพง ๆ อ้างเป็นค่าแรกเข้า บางครั้งก็เป็นคนที่เรารู้จัก ทำให้เชื่อถือไว้ใจ ชักชวนให้นำเงินที่มีมาลงทุน แต่คนที่เราเคยไว้ใจก็อาจเชิดเงินของเราหนีได้ เพื่อความปลอดภัยหากมีใครมาชวนเราลงทุนกับธุรกิจประเภทขายตรงแบบนี้ สามารถนำชื่อ บริษัทไปเช็คได้ที่…
เมื่อต้นเดือน มกราคม 2566 มีข่าวว่า มีผู้เสียหายรายหนึ่ง พบว่าเงินในบัญชีสูญหายจากการโจรกรรมข้อมูลโดยผู้เสียหายเองเข้าใจผิดคิดว่าเกิดขึ้นจากสายชาร์จ กรณีนี้ แท้จริงแล้วเกิดจากการติดตั้งแอปพลิเคชั่นบางแอปฯ ที่เป็นมัลแวร์ดูดข้อมูลโดยมิจฉาชีพจะสามารถควบคุมโทรศัพท์ผู้เสียหายจากรีโมทในระยะไกลเพื่อโอนเงินออกจากบัญชีได้ ส่วนสายชาร์จที่ดูดข้อมูลภายในโทรศัพท์มือถือนั้นก็พบว่ามีอยู่จริง แต่ยังไม่แพร่หลายในไทย แต่สายชาร์จนี้จะไม่สามารถดูดข้อมูลเราได้เลย ถ้าเราทราบวิธีป้องกันตัวและปฏิบัติตามคำเตือนด่านล่างนี้ อย่าติดตั้งแอปพลิเคชั่นอันตรายบางแอปฯ เช่น แอปฯ หาคู่ แอปฯ ดูภาพลามกอนาจาร แอปฯ ดูไลฟ์สด หากจะติดตั้งแอปพลิเคชั่นควรติดตั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น App Store, Google Play, App Gallery เท่านั้น เลือกซื้อสายชาร์จแท้จากศูนย์ หรือเลือกซื้อยี่ห้อที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ไว้ใจได้ ควรใช้สายชาร์จหรือเพาเวอร์แบงค์ของตัวเอง และไม่ควรขอชาร์จจากคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ก่อนจะใช้ Wi-Fi สาธารณะ ให้สังเกตให้ดีก่อน อาจมีชื่อWi-Fiที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกัน ถ้าไม่สามารถเข้าใช้ได้หลาย ๆ ครั้งแล้วต้องเข้าใหม่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเป็นช่องทางมิจฉาชีพ อัปเดต Mobile Banking ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ เพียงเท่านี้ เราก็จะปลอดภัยจากการโดนโจรกรรมข้อมูลทั้งจากแอปพลิเคชั่นดูดข้อมูลและสายชาร์จดูดข้อมูลได้แล้ว