ออนไลน์ปลอดภัย

อยู่อย่างปลอดภัย  ไม่ต้องกลัวสายชาร์จดูดข้อมูล

เมื่อต้นเดือน มกราคม 2566 มีข่าวว่า มีผู้เสียหายรายหนึ่ง พบว่าเงินในบัญชีสูญหายจากการโจรกรรมข้อมูลโดยผู้เสียหายเองเข้าใจผิดคิดว่าเกิดขึ้นจากสายชาร์จ กรณีนี้ แท้จริงแล้วเกิดจากการติดตั้งแอปพลิเคชั่นบางแอปฯ ที่เป็นมัลแวร์ดูดข้อมูลโดยมิจฉาชีพจะสามารถควบคุมโทรศัพท์ผู้เสียหายจากรีโมทในระยะไกลเพื่อโอนเงินออกจากบัญชีได้

ส่วนสายชาร์จที่ดูดข้อมูลภายในโทรศัพท์มือถือนั้นก็พบว่ามีอยู่จริง แต่ยังไม่แพร่หลายในไทย แต่สายชาร์จนี้จะไม่สามารถดูดข้อมูลเราได้เลย ถ้าเราทราบวิธีป้องกันตัวและปฏิบัติตามคำเตือนด่านล่างนี้

  • อย่าติดตั้งแอปพลิเคชั่นอันตรายบางแอปฯ เช่น แอปฯ หาคู่ แอปฯ ดูภาพลามกอนาจาร แอปฯ ดูไลฟ์สด หากจะติดตั้งแอปพลิเคชั่นควรติดตั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น App Store, Google Play, App Gallery เท่านั้น
  • เลือกซื้อสายชาร์จแท้จากศูนย์ หรือเลือกซื้อยี่ห้อที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ไว้ใจได้
  • ควรใช้สายชาร์จหรือเพาเวอร์แบงค์ของตัวเอง และไม่ควรขอชาร์จจากคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  • ก่อนจะใช้ Wi-Fi สาธารณะ ให้สังเกตให้ดีก่อน อาจมีชื่อWi-Fiที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกัน ถ้าไม่สามารถเข้าใช้ได้หลาย ๆ ครั้งแล้วต้องเข้าใหม่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเป็นช่องทางมิจฉาชีพ
  • อัปเดต Mobile Banking ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ

เพียงเท่านี้ เราก็จะปลอดภัยจากการโดนโจรกรรมข้อมูลทั้งจากแอปพลิเคชั่นดูดข้อมูลและสายชาร์จดูดข้อมูลได้แล้ว

Previous article
ออนไลน์ปลอดภัย ห่างไกล Hate Speech
Next article
นายกฯ ร่วมกิจกรรมวันส่งเสริมอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566